วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คนที่ 29 ประยุทธ์ จันทร์โอชา


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ชื่อเล่น: ตู่, เกิด 21 มีนาคม 2497) เป็นนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองซึ่งกำลังปกครองประเทศไทย นอกจากนี้ เขายังเป็นประธานคณะกรรมการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ และประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งเป็นคณะกรรมการภายในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1]ประธานคณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนโครงการหลวง อดีตผู้บัญชาการทหารบก อดีตกรรมการบริษัท ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) อดีตประธานสโมสรฟุตบอลอาร์มี่ ยูไนเต็ด[2] และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก
เขาอยู่ในกลุ่มบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เป็นผู้บัญชาการทหารบกระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2557 หลังการแต่งตั้ง พลเอกประยุทธ์มีลักษณะนิยมเจ้าเข้มข้นและเป็นศัตรูของอดีตนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เขาถูกมองว่าเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ ทั้งเป็นผู้สั่งการการสลายการชุมนุมของ "คนเสื้อแดง" เมื่อเดือนเมษายน 2552 และเมษายน/พฤษภาคม 2553 คนหนึ่ง[ภายหลัง เขามุ่งบรรเทาบทบาทของตน โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในความขัดแย้งนองเลือดนั้น และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพันตำรวจโททักษิณ ซึ่งชนะการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554
ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 และเกี่ยวข้องกับการประท้วงต่อรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ พลเอกประยุทธ์อ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[ และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหารต่อรัฐบาลและควบคุมประเทศในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาตินับแต่นั้น สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับพลเอกประยุทธ์วางแผนโค่นพันตำรวจโททักษิณตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ปฏิเสธข่าวนี้ ต่อมา เขาออกรัฐธรรมนูญชั่วคราวซึ่งให้อำนาจครอบคลุมเขาและนิรโทษกรรมเขาสำหรับรัฐประหาร[10] วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูกเลือกมา และส่วนใหญ่เป็นนายทหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น